• รายการดนตรีคลาสสิก 20 กรกฎาคม 2567
    Jul 23 2024
    ผมจะยกเลิกตอนที่เคยอยู่ใน Spotify หรือเดิม Anchor ไปทั้งหมดแล้วอัพรายการไปที่ Spotify จาก Spreaker เลย ถ้าใครมาเจอผมทางนี้ก็ขอยินดีต้อนรับกลับมาครับ ผมอยู่ที่นานแล้วและจะพยายามเขียนมาให้อ่านอีกแน่นอน เพราะผมเองก็ไม่ได้คลุกคลีกับวงการดนตรีคลาสสิกไทยไปมากกว่าการเป็นผู้ฟังที่มาฟังอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นผมสามารถที่จะเขียนหรืออธิบายแบบตรงไปตรงมาได้เลยครับ แต่สำหรับในตอนนี้ผมไม่มีอะไรจะเขียนถึงเพิ่มเติมเลย จริงๆก็มีเรื่องอยากจะเขียนนะ แต่รู้สึกตันมากๆ ขอยกยอดไปสัปดาห์หน้าแล้วกันครับ
    Más Menos
    2 h y 3 m
  • รายการดนตรีคลาสสิก 13 กรกฎาคม 2567
    Jul 16 2024
    หลังจากที่ผมเขียนบทความยาวๆมาเยอะแล้ว ในสัปดาห์นี้ผมเลยเขียนความรู้สึกเล็กน้อยๆที่ผ่านมาหลายเดือนมานี้ ที่ไม่เยอะพอเป็นบทความได้มารวมตรงนี้เลยขอพูดเรื่องส่วนตัวสักหน่อยว่านับตั้งแต่ผมย้ายรายการมาทำที่ Spreaker มาผมรู้สึกสบายขึ้นเยอะเลยแม้มันจะช้ามากก็ตาม แต่ผมก็ไม่มีปัญหาในการย้ายบ้านใหม่เพราะดีกว่าต้องโดนลบบ่อยๆจนหลายๆตอนไม่สามารถออกอากาศได้ และผมคิดว่าสถานีวิทยุจุฬาก็คงไม่สนใจหรอกไม่งั้นคงไม่บ่อยตอนให้ดาวน์โหลดที่หน้าเว็บเป็นแน่แท้ในช่วงนี้ผมกำลังสนใจที่จะเรียนการจูนเปียโนแบบจริงๆจังๆ เพราะต้องยอมรับว่าช่วงนี้งานประจำที่ผมทำไม่สามารถสร้างรายได้ที่มากพอให้ผม แต่ผมก็กังวลเกี่ยวแนวทางในการทำงานนี้ว่ามันจะมีเปียโนมากพอให้จูนรึไม่และจะสามารถเก่งกับมันได้รึเปล่า แต่ผมก็จะลองศึกษาความเป็นไปได้ก่อนตัดสินใจจะทำมันจริงๆอีกที่และช่วงนี้ช่องพอตแคสต์อีกช่องที่ผมทำซึ้งเป็นตอนที่ออกเป็นพิเศษจาก NAS ของผมที่ไม่ได้เปิดให้ใครฟังจากที่เคยได้เขียนถึงไว้ตอนต้นปี แต่เนื่องจากธุระที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำเจอปัญหาฟังไม่ทันจนได้ แต่ผมก็ไม่ได้หยุดเพิ่มตอนใหม่เลยก็ทำให้ดินพอกหางหมูอย่างต่อเนื่อง ผมก็จะพยายามไล่ฟังต่อไปและอีกอย่างวงส่วนใหญ่ปิดซีซี่นกันก็เลยพอจะไล่ตามอยู่บ้างแต่ก็คงเหนื่อยหน่อย ถามว่าทำไมผมถึงอยากฟังด้วยรูปแบบพอตแคสต์มาจากจะดึงมาใส่ในมือถือของผมไปเลย ก็เพราะว่ามันนับตอนที่ผมฟังได้และสามารถบันทึกความก้าวหน้าในการฟังของผมไปเรื่อยๆได้เหมือนกันเมื่อเปลี่ยนไปฟังรายการอื่นๆและทำให้รู้สึกเหมือนฟังรายการวิทยุอีกด้วยคอนเสิร์ตดนตรีคลาสสิกในบ้านเราก็มีอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ว่าขาดการรับรู้ในวงกว้างยกเว้นที่เป็นคนดังๆในวงการ (แต่ก็ยังเงียบในสังคมส่วนใหญ่อยู่ดี) ผมเลยแนะนำ (อีกสักรอบ) Mad About Classical Music in Bangkok ใน Facebook มีคนติดตามไม่ถึงฟันคนดีแสดงว่ากลุ่มคนที่สนใจมีน้อยเสียเหลือเกิน แต่ก็มีคนฟังในคอนเสิร์ตใหญ่อยู่ ผมไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเพจนี้ก็ขอเชิญติดตามครับจะว่าไปแล้วกลุ่ม Facebook ...
    Más Menos
    2 h y 3 m
  • รายการดนตรีคลาสสิก 6 กรกฎาคม 2567
    Jul 10 2024
    สำหรับในสัปดาห์นี้ผมอยากจะเขียน 2 เรื่องที่เกียวกับดนตรีคลาสสิกบ้านเราที่มีประเด็นเชื่อมโยงอย่างมีนัยยะสำคัญสักหน่อยจนอยากจะออกมาวิจารณ์นักดนตรีคลาสสิกไทยแบบตรงๆไม่ไว้หน้าบ้างเมื่อไม่นานมานี้ผมได้สังเกตเฟสของนักดนตรีคลาสสิกไทยคนหนึ่งที่ได้ไปเที่ยวญี่ปุ่นเป็นเวลาสองอาทิตย์ที่ถือว่าเป็นตลาดดนตรีคลาสสิกใหญ่ที่สุดในเอเชียและใหญ่เป็นรองแค่ชาติที่เป็นต้นกำเนิดหรือในอเมริกาเสียด้วยซ้ำ โดยได้ไปทำหลายสิ่งหลายอย่างที่เกียวกับดนตรีมากมาย เช่นการไปชมคอนเสิร์ต(ที่ไม่มีวันจะจัดในประเทศไทยอย่างแน่นอน) ซื้อของที่เกี่ยวกับดนตรีอย่างอุปกรณ์ดนตรีหรือแผ่นเสียงหรือซีดี และอาจจะทำอะไรที่นักท่องเที่ยวไทยทั่วไปจะทำกันบ้าง (ซึ่งก็ถือว่านานถ้าเทียบกับคนไทยที่ไปๆกัน) แล้วเมื่อคำนึงถึงว่าสมาชิกนักดนตรีไทยวงนั้นก็มีจบจากต่างประเทศโดยเฉพาะในเยอรมันนี ออสเตรีย อังกฤษหรืออเมริกาที่มีจำนวนไม่น้อยนี้ก็น่าจะพอประมาณการได้ว่านักดนตรีไทยเองก็มีความรู้และข่าวสารเกี่ยวกับวงการดนตรีคลาสสิกในระดับโลกมาไม่น้อยเหมือนกัน (หรืออาจจะมากกว่าที่ผมคิดไว้เสียด้วยซ้ำเพราะผมก็รู้จากมุมมองคนคนภายนอก) แต่อย่างไหร่ก็ดีผมกลับตระหนักว่าบทบาทของนักดนตรีไทยหรือประเทศไทยที่มีความเกี่ยวข้องกับวงการดนตรีคลาสสิกในระดับสากลแทบไม่มีเลยเทียบไม่ได้กับมาเลเซีย อินโดนิเซียหรือแม้แต่เวียดนาม ไม่ต้องพูดถึงสิงคโปร์ที่เขาไปไกลมากๆแล้ว ถ้าให้พูดกันตามตรงไทยเรามีทรัพยากรที่เกี่ยวกับดนตรีเป็นจำนวนมากอาจารย์มีจำนวนมากจากที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันชั้นนำต่างๆในยุโรปไม่แพ้ชาติที่ว่าเลย แต่ดูเหมือนว่าสิ่งที่ตอบสนองออกไปกลับมีไม่มากมากนัก ถ้าเข้าใจไม่ผิดที่สมาชิกบางส่วนของวงนั้นได้ไปแสดงที่เยอรมันที่ Elbphilharmonie หนึ่งครั้งก็มาจาก Connection ของผู้สนับสนุนที่จะจัดอุปรากรในปลายเดือนนี้ (ที่ผมคงไม่สนใจจะเข้าไปชมอยู่แล้ว) ผมไม่แน่ใจว่านักดนตรีบ้านเราไม่มีโอกาสได้แสดงฝีมือเพราะคุณภาพที่สู้ไม่ได้หรือว่าไม่ได้รับการสนับสนุนกันแน่ ...
    Más Menos
    2 h y 3 m
  • รายการดนตรีคลาสสิก 29 มิถุนายน 2567
    Jul 3 2024
    ตอนนี้ผมได้เปลี่ยนที่อยู่ในการเผยแพร่ช่องพอตแคสต์ของผมไปแล้วนะครับ เนื่องจากทาง Spotify ชอบลบตอนของผมตลอดเวลาจนผมเสียกำลังใจไปเยอะมากๆ เอาจริงๆไม่ได้หวังให้ใครมาตามช่องของผมหรอก เพียงแต่อยากจะทำมันต่อไป จริงๆแล้วผมก็อยากจะลองของรายการที่ผมสนใจที่เคยทำมาใส่เหมือนเมื่อปีที่แล้ว แต่ผมคิดว่าทำแบบนี้นี่แหละดีที่สุดแล้วในตอนนี้ ถ้าใครหาช่องของผมเจอก็ยินดีด้วยครับ จริงๆอยากจะคุยหลายเรื่องมากๆแต่ตอนนี้ขอแค่นี้ละครับ ขอบคุณมากๆครับ
    Más Menos
    2 h y 3 m
  • รายการดนตรีคลาสสิก 22 มิถุนายน 2567
    Jun 27 2024
    เมื่อสัปดาห์ที่แล้วถ้าไม่เห็นก็ขออภัยด้วยระบบมันลบตอนออกไปซะงั้น แต่อย่างไรก็ตามผมจะพยายามนำตอนใหม่ออกมาเรื่อยๆ ตราบเท่าที่ผมยังสามารถหามาฟังได้เองต่อไป ในคราวนี้ผมเลยอยากจะพูดเรื่องที่ผมนั้นเขียนเชิงอรรถถึงนักดนตรีที่มีชื่อเสียงในรายการพอตแคสต์ของนักโอโบสาวกันบ้างเนื่องจากในขณะที่ผมกำลังฟังในแต่ละตอนระหว่างทำธุระส่วนตัวนั้นและนักดนตรีเองก็แนะนำบุคคลหรือผลงานที่น่าสนใจอยู่นั้น ผมก็สงสัยว่าผลงานเป็นยังไงหาฟังได้ที่ไหนบ้าง แต่ปัญหาคือว่า Producer คงได้ตัวอย่างเพลงจากนักดนตรีเหล่านั้นนั่นแหละ แต่ไม่ได้อธิบายเพิ่มเติมอะไรในหมายเหตุของตอนเลยแม้แต่นิดหน่อย มีแค่คำโปร่ยไปเท่านั้นแล้วผมจะหาไปฟังต่อได้ยังไง ชื่อที่พูดก็ยังไม่รู้จะสะกดยังได้ด้วย เลยเป็นจุดเรื่มต้นที่เริ่มทำเชิงอรรถขึ้นมาเป็นความคิดเห็นในตอนนั้น (ที่ในแต่ละตอนก็ไม่ได้มีคนฟังเยอะแยะอะไรเลยมีถึงหลักพันก็ยอดเยี่ยมแล้ว) โดยใช้แอพหาเพลงในมือถือมาช่วยในการค้นหาแล้วไปค้นหาเพิ่มเติมจากผลงานบันทึกเสียงของเข้าที่ยังมีอยู่โดยโดยเฉพาะในแบบสตรีมเพลงต่างๆ ที่ในตอนนี้จะเป็น Youtube และ Youtube Music เพราะสามารถเข้าถึงได้ทุกคน แล้วนำลิงค์ที่แชร์ได้เหล่านั้นรวมไปเวลาช่วงเวลาที่นักดนตรีเหล่านั้นพูดถึงอยู่ไปเขียนเป็นข้อคิดเห็นในแต่ละพอตแคสต์แทนเป็นในลักษณะเชิงอรรถ ในส่วนของช่องทางการแนะนำนั้นผมพยายามทำในช่องทาง Youtube ของ ThaiPBS Podcast เป็นหลักเพราะทุกคนสามารถเข้าถึงได้สะดวกที่สุด ในตอนนี้ยังไม่มีแผนจะไปไว้ที่อื่นผมรู้สึกว่าในรายการมีการแนะนำเพลงและแนะนำนักดนตรีเป็นจำนวนมาก แต่มันก็ติดปัญหาอยู่ 2 เรื่องที่เห็นชัดๆคือการไม่มีข้อมูลให้หาต่อ ต้องยอมรับว่าในบางข้อมูลที่ผมสงสัยจากที่ดนตรีแนะนำนั้น ผมไม่สามารถหาข้อมูลมารองรับได้บางทีก็ต้องปล่อยผ่านไปและยอมรับว่าหาไม่ได้ ก็ต้องไปเอาผลงานการแสดงของเขาในโอกาสอื่นที่ไม่ใช่ที่เขานำมาแสดงในรายการการแนะนำในเชิงที่ลึกเกินไปเกินกว่าที่คนที่ไม่สนใจดนตรีจะเข้าใจได้ ...
    Más Menos
    2 h y 3 m
  • รายการดนตรีคลาสสิก 15 มิถุนายน 2567
    Jun 27 2024
    ในช่วงที่่ผ่านมาเวลาไปดูคอนเสิร์ตเริ่มสังเกตถึงแนวคิดเรื่องสูจิบัตรที่เปลี่ยนไปจากก่อนเยอะมาก โดยปกติแล้วสูจิบัตรควรจะบอกถึงโปรแกรมที่จะแสดงโดยในเนื้อหาจะบอกถึงรายละเอียดของโปรแกรมมีความเป็นมาอย่างไหร่อาจจะรวมไปถึงประวัติคีตกวีโดยสังเขตด้วยซ้ำไป จะมีรายละเอียดของผู้แสดงทั้งหมดจะมีหรือไม่น้ำยาก็ใส่กันไปเท่าที่เห็นถึงเกียรติประวัติได้ และบางกรณีทำล้วงหน้าตามสื่ออย่างหนังสือพิมพ์เสียด้วยซ้ำ ในญี่ปุ่นก็ทำล่วงหน้าเผยแพร่ในเว็ปไซด์ด้วยซ้ำไป แต่ช่วงหลังมานี้เหมือนมีให้รู้ว่ามีไปเท่านั้นเองอย่าง Royal Bangkok Symphony Orchestra ทั้งๆที่สปอนเซอร์ก็แทบจะล้นเล่มอยู่แล้วแต่กลับมีขนาดเล็กประมาน A6 เท่านั้นแถมตัวหนังสือก็เล็กอีกคือถ้าจะอ่านในความมืดก็เป็นไปได้อยากแล้ว แล้วถ้าเป็นคนแก่ๆก็คงสายตาไม่ดีมากพอที่จะอ่านตามว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ถึงแม้ว่าจะมีสิ่งที่เรียกว่าผู้นำเสนอหรือ Presenter ก็อาจจะบรรยายให้ผู้ชมให้ฟังก่อนแต่ผมคิดว่าการมีรายละเอียดรวมไปถึงการวิเคราะห์ผลงานโดยสังเขปน่าจะดีกว่า แล้วทั้งหมดนี้ก็คิดเงินเสียด้วยแม้มันจะไม่ได้เยอะอะไรแต่แสดงให้เห็นถึงความไม่กล้าที่ทำให้ผู้ฟังที่ทั้งสละเวลาและเงินที่มาช่วยสนับสนุนวงเลย แต่ก็ยังดีที่มี QR CODE ให้สแกนดาวน์โหลดไพล์ PDF มาเก็บไว้อ่านในอนาคตอย่างไรก็ดี Royal Bangkok Symphony Orchestra ที่ก็เรียกว่าแย่แล้วนะแต่กับ Thailand Philharmonic นี่คือเฮงซวยเลยยิ่งแล้วใหญ่เลยไม่มีสูจิบัตรจริงๆเลยมีแต่ใบโปรแกรมให้สแกน QR CODE ที่ในนั้นเองก็มีเฉพาะประวัตินักดนตรีเท่านั้นเองเหมือนหมดงบยังไงไม่รู้ คือถ้าจะรอฟัง Pre-concert talk ถ้าผู้ฟังมาก่อนแล้วมามันก็ OK แต่ถ้ามาฟังไม่ทันเพราะเดินทางมาไกลล่ะคือมาฟังแบบเบลอๆไปเลย คือผมอาจจะเข้าใจดนตรีมาก่อนแล้วในระดับหนึ่งแต่ว่าก็ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถศึกษาหรือมาฟังมาก่อนจะมาฟังการแสดงจริงได้ แล้วในบางกรณีผมก็ไม่มั่นใจในข้อมูลของตัวเองจนต้องไปค้นคว้าข้อมูลโปรแกรมการแสดงจากแหล่งต่างเช่นหนังสือที่วิเคราห์ผลงานอย่างละเอียดหรือแม้แต่ถาม ChatGPT ...
    Más Menos
    2 h y 3 m
  • รายการดนตรีคลาสสิค 8 มิถุนายน 2567
    Jun 9 2024
    หลังจากที่ผมเขียนในลักษณะย้อนหลังจากรายการดนตรีคลาสสิกออกอากาศไปแล้ว ผมเลยพยายามเขียนก่อนออกอากาศเพื่อไม่รู้สึกเหมือนโดนกดดันที่เวลาผ่านไปนาน และในคราวนี้ผมเลยอยากจะพูดถึงคนหนึ่งที่บทบาทในวงการดนตรีคลาสสิกบ้านเราอย่างมากอย่างคุณ ดร. อัครวัฒน์ ศรีณรงค์หรือที่หลายคนจะเรียกกันอาจารย์เป้กันบ้าง จุดเริ่มต้นเดิมชื่อ ทวีเวท ศรีณรงค์ มีพ่อคือภูกร ศรีณรงค์ที่เป็นนักดนตรีของวง Bangkok Symphony มาตั้งแต่รุ่นบุกเบิกและมีพี่น้องอีก 2 คน เนื่องจากเคยไปเรียนในโรงเรียนและสถาบันที่มีชื่อพอสมควรแม้ไม่ใช่ชั้นแนวหน้าก็ตามอย่าง Royal Academy of Music ประเทศอังกฤษ Yale School of Music และ Stony Brook University ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นต้น และเคยแสดงในคอนเสิร์ตในวงเยาวชนระดับทวีป วงสมัครเล่นในมหาวิทยาลัยหรือแม้แต่วงอาชีพระดับรองๆเยอะมาก แต่ที่ใหญ่สุดในความรู้สึกของผมคือ orpheus chamber orchestra ที่เป็นนักดนตรีสมทบ อาจารย์เป้มีแววว่าจะเก่งในดนตรีมาตั้งแต่มัธยมต้นแล้ว ทำให้ได้รับทุนไปเรียนที่ต่างๆรวมไปถึงประกาศเกียรติคุณภายในประเทศเต็มไปหมด คงจะพูดได้ว่าเขาเป็นเด็กอัจฉริยะในวงการดนตรีคลาสสิคคนแรกๆของไทยเลยที่เดียว แต่เอาจริงๆแล้วผมหนะเสียดายความสามารถเขามากๆ ที่กลับมาประเทศไทยเร็วเกินไป เพราะถ้าเขายังอยู่ในสหรัฐอเมริกาต่อหรือไปเป็นนักดนตรีอาชีพที่แสดงในยุโรปแล้วเขาน่าจะเป็นนักดนตรีที่เก่งพอที่สู้ในเวทียุโรปได้ สามารถที่จะอยู่แถวหน้าของวงรองๆหรือแถวหลังๆของวงใหญ่ได้ แม้ผมจะคิดว่าเขาไม่ได้เก่งในระดับที่เป็น Soloist หรือ Virtuoso ที่จะไปแข่งขันดนตรีในระดับโลกได้ก็ตาม แต่ก็น่าจะดีกว่ากลับมาเมืองไทยที่ด้วยความที่สังคมดนตรีคลาสสิคในประเทศไทยในสมัยนั้นถูกจำกัดให้กับคนมีฐานะที่จะเข้าถึงได้ ทั้งในแง่ของการเป็นการเรียนพิเศษหรือการไปฟังในคอนเสิร์ตที่อาศัยความเข้าใจในระดับที่ฟังแล้วรู้สึกไพเพราะได้จึงทำให้ชีวิตของการเป็นนักดนตรีคลาสสิคของเขาไม่ได้ก้าวหน้าในเวลานั้น ผมคิดว่าสาเหตุสำคัญคงเพราะเรื่องของการใช้ทุนและตอบแทนพระคุณของผู้ใหญ่ที่ให้การสนับสนุนมากกว่า ...
    Más Menos
    2 h y 3 m
  • รายการดนตรีคลาสสิก 1 มิถุนายน 2567
    Jun 3 2024
    สำหรับใครที่สงสัย ตอนนี้ผมได้เลิกใช้บริการนี้แล้วนะครับ ถ้าใครที่สนใจจะอ่านและฟังผลงานของผมติดตามได้ในนี้ครับ ลิงค์หน้า https://redcircle.com/shows/af998355-21d6-4707-9ea1-8801e0ccc5bc ลิงก์ช่องโหลดพอตแคสต์ https://feeds.redcircle.com/af998355-21d6-4707-9ea1-8801e0ccc5bc ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นวันครบรอบการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทำให้คิดถึงเรื่องดนตรีคลาสสิกที่น้อยคนที่รับรู้ว่าท่านเป็นคนที่ชอบดนตรีคลาสสิกมากคนหนึ่งเลยที่เดี่ยว ถึงแม้ว่าผมไม่แน่ใจว่าในเทปนี้มีประเด็นนี้ด้วยรึไม่แต่ผมคิดว่าน่าจะเอ่ยถึงอยู่บ้าง รัชการที่ 7 นั้นมีชีวิตหลังจากสละราชสมบัติแล้วก็ทรงยังอยู่ที่อังกฤษต่อไปอีก 6 ปี ถ้านับช่วงที่จากประเทศไทยไปจริงๆคือ พ.ศ.2477 จนถึงสวรรคตใน พ.ศ.2484 ที่อยู่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ประทับอยู่เกือบ 8 ปีเลยที่เดียว แล้วถ้านับตลอดชีวิตของพระองค์ที่เริ่มจากนับการศึกษาที่อังกฤษในวัยเยาว์ไปแล้วละก็น่าจะอยู่ที่นั้นรวมๆกันคือ 15 ปีคือประมาน 1 ใน 3 ของพระชนม์ชีพเลยที่เดียว จึงมีความเป็นไปได้ว่าพระองค์ได้รับแนวความคิดทางวัฒนธรรมของอังกฤษไปไม่น้อยโดยเฉพาะทางด้านดนตรีที่ต่างจากรัชกาลที่ 6 ที่เน้นไปทางวรรณกรรมและการแสดงละครแบบอังกฤษมากๆ จากคลิปนี้ใน Youtube จึงการคาดเดาว่าน่าทรงเรียนไวโอลินนี้ในสมัยวัยรุ่นและพระองค์มีพระวรกายที่เล็กไวโอลินจึงมีขนาดไม่ใหญ่ จากการต่อมาที่มอบให้ มรว ปิ่มสาย อัมระนันทน์ ที่ในตอนนั้นน่าจะมีอายุประมาน 10 ปี จึงเชื่อว่าพระองค์ยังเล่นไวโอลินอยู่เสมอๆ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงบันทึกความทรงจำไว้ตอนหนึ่งว่า “เหมือนจะทรงทราบดีว่าพระชนม์จะไม่ยืนยาวต่อไป จึงได้ทรงสั่งไว้ว่า ถ้าพระองค์สวรรคตเมื่อไร ให้ทรงพระภูษาแดง และทรงสะพักผ้าขาวผืนเดียวแล้วเอาลงหีบ แล้วจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพโดยเร็ว ไม่ต้องมีพิธีเกียรติยศอย่างใดทั้งสิ้น และขอให้เอาซอไวโอลินไปเล่นเพลงที่พระองค์โปรดเพียงคันเดียวในขณะที่กำลังถวายพระเพลิง สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีได้ทรงจัดการตามพระราชดำรัสสั่งทุกประการ” ตามหนังสือพระราชประวัติ ...
    Más Menos
    2 h y 3 m