Episodios

  • สุขภาพใจที่ดี มีชัยไปเกินครึ่ง [6729-1u]
    Jul 14 2024
    ช่วงไต่ตามทาง: สุขภาพใจไม่ดี เพราะโรคซึมเศร้า- ท่านผู้ฟังท่านนี้เป็นโรคซึมเศร้า มีกัลยาณมิตรที่ดีแนะนำให้ฝึกสติอยู่กับตัวเอง รู้ทันอารมณ์ ก็ตั้งสติ สังเกตอารมณ์ที่เกิดขึ้น เช่น เศร้า ไม่พอใจ โกรธ เหงา ขี้เกียจ เป็นต้น มีจดบันทึกไว้บ้าง ทำอยู่ประมาณ 6–12 เดือน ก็เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน อารมณ์เหล่านั้นอ่อนแรงลง ความซึมเศร้าลดลงเรื่อย ๆ มีการพัฒนาอุปนิสัยใหม่ มีกิจกรรมใหม่ในทางที่ดีขึ้น ฟื้นฟูจากโรคซึมเศร้า สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข- “เมื่อเราตริตรึกไปทางไหน จิตเราจะน้อมไปทางนั้น จิตเราน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง หากเราไม่ตริตรึกไปทางไหน จิตเราก็จะไม่น้อมไปทางนั้น จิตเราไม่น้อมไปทางไหน สิ่งนั้นก็จะอ่อนกำลัง” ดังนั้น การที่เรามีสติ สังเกตเห็นอารมณ์ตัวเองได้ จะทำให้จิตที่จะคล้อยไปตามอารมณ์นั้นเบาบางลง จิตที่จะเพลินไปตามอารมณ์ซึมเศร้า ฟุ้งซ่าน โกรธ ไม่พอใจ ยินดี ลุ่มหลง นั้น จะอ่อนแรงลง เพราะ สติตั้งอยู่ตรงไหน ความเพลินจะอ่อนกำลังโดยอัตโนมัติทันที ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: สุขภาพดีมีชัยไปกว่าครึ่ง จริงหรือไม่- “สุขภาพดี” ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ การเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย มีไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารที่ย่อยได้อย่างสม่ำเสมอ พอปานกลาง ไม่ร้อนเกิน ไม่เย็นเกิน พอควรแก่การทำความเพียร- หากมีโรคมาก ก็จะมีเวทนามาก ชีวิตก็จะไม่ยืนยาว เวทนานั้นปรับตามอาพาธ อาพาธปรับตามธาตุไฟ (ความร้อน ความเย็น การเผาไหม้ ในร่างกาย) ถ้าธาตุไฟไม่สมดุล ไม่สม่ำเสมอ ร้อนเกินไปบ้าง เย็นเกินไปบ้าง ก็เป็นอาพาธ- การกินอาหาร ร่างกายต้องใช้ความร้อนในการย่อย ความร้อนนี้เป็นอันเดียวกับความร้อนที่ทำให้แก่ การกินมากไปทำให้แก่เร็ว เพราะเกิดการเผาไหม้ในร่างกายมาก แต่จะไม่กินอาหารเลยก็ไม่ได้ จึงต้องกินแต่พอดี พระพุทธเจ้าจึงสอนหลักเรื่อง “โภชเน มัตตัญญุตา” คือ กินพอประมาณ ให้มีธาตุไฟสม่ำเสมอ ให้มีเวทนาเบาบาง จะแก่ช้า ครองอายุได้ยืนนาน ผล 3 ประการของการมีสุขภาพกายที่ดี ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า :1. สุขภาพกายดี เป็นองค์ประกอบ 1 ใน 5 ...
    Más Menos
    1 h
  • วิธีรับมือมิจฉาชีพออนไลน์ [6728-1u]
    Jul 7 2024
    Q1: วิธีรับมือมิจฉาชีพออนไลน์A: คนที่ตั้งใจหลอกลวงเอาทรัพย์ผู้อื่น เป็นการเบียดเบียน เป็นบาป เมื่อเจอคนไม่ดี1. ต้องมี “สติสัมปชัญญะ”: ไม่คล้อยไปตามเสียง รูป คำพูดของเขา2. ต้อง “โยนิโสมนสิการ”: ใช้ปัญญาไตร่ตรองโดยแยบคาย รอบคอบ คิดเป็นระบบว่า - อะไรที่จะได้มาโดยง่ายไม่มี - ความสุข ความสำเร็จ เป็นสิ่งที่ได้มาโดยยาก โดยลำบาก - สิ่งที่ได้รับฟังมา ทนต่อการเพ่งพิสูจน์หรือไม่ - หากเราโดนหลอกครั้งแรก ก็อย่าให้โดนหลอกอีกในครั้งต่อไป- แม้ถูกหลอกไปแล้ว ก็ไม่ต้องเสียใจ คนที่หลอกจะได้รับผลไม่ดีอย่างแน่นอน แต่ตัวเราต้องไม่ทำสิ่งไม่ดีต่อ เช่น เสียใจ เศร้าโศก เป็นอกุศลกรรม เงินทองเป็นของนอกกาย หาใหม่ได้ หากเรายังมีจิตใจ มีปัญญาที่สามารถพัฒนาให้เกิดความเข้าใจ มีความกรุณา อุเบกขา ได้ ให้เรามีอุเบกขา อย่าไปคิดโกรธเคือง จะเป็นบาปแก่เราQ2: การโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์กระทบผู้อื่นA: กรรมทางใจ (มโนกรรม) สำคัญกว่ากรรมทางกาย (กายกรรม)- ถ้าเราเจตนาโพสต์ให้กระทบคนอื่น ก็เป็นมโนกรรม- หากเขาทำไม่ดี ความไม่ดีของเขา เคลือบคลานมาถึงตัวเราแล้ว เราก็ไม่ควรทำไม่ดีตอบ ให้ใช้ “อุเบกขา” เพื่อแก้การผูกเวร - การโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ แม้ไม่มีเจตนาให้กระทบผู้อื่น แต่การเบียดเบียนเกิดขึ้นแล้ว มีกรรมเกิดขึ้นแล้ว มีบาปเกิดขึ้นแล้ว แต่ไม่ผิดศีลเพราะว่าไม่มีเจตนา เมื่อไม่ผิดศีลแล้ว ก็ไม่ต้องกังวลใจ เพราะความร้อนใจควรจะเกิดขึ้นจากการผิดศีล เปรียบเทียบกับ พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนธรรมะ ก็มีผู้ที่ไม่ชอบใจในคำสอนของพระพุทธเจ้า เกิดความขัดเคืองใจ การเบียดเบียนเกิดขึ้นแล้ว แต่เป็นการเบียดเบียนความชั่วด้วยความดี มีลักษณะขูดเกลา บีบคั้นความชั่ว ให้เห็นว่า ความขัดเคืองที่เกิดขึ้นกับเขาเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ความดีที่จะเกิดขึ้นกับเขามันมีมากกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ การบอกสอนเขาย่อมดีกว่า Q3: ทำอย่างไรให้ผาสุกได้ในทุกสถานการณ์ A: ในสถานการณ์ที่เป็นทุกข์ เรายังผาสุกอยู่ได้ หากมีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง (มรรค 8), ศีล สมาธิ ปัญญา, สมาธิ วิปัสสนา หรือสติสัมปชัญญะ- การฝึกสติ ...
    Más Menos
    55 m
  • คลายความอิจฉาด้วยพรหมวิหาร 4 [6727-1u]
    Jun 30 2024
    ช่วงไต่ตามทาง: อดทน คือ ทุกสิ่ง- ผู้ฟังจาก กทม.-เป็นเด็กกำพร้า ถูกกระทำ และถูกต่อว่าให้เจ็บช้ำน้ำใจมาตั้งแต่เด็ก แต่ด้วยความอดทนทำให้ผ่านเหตุการณ์ทุกอย่างมาได้ จึงเข้าใจดีว่า ความอดทนเป็นทุกสิ่ง และยังเข้าใจอีกว่า การไม่ตอบโต้ ไม่ใช่เพราะความกลัว แต่เป็นเพราะความอดทน ซึ่งเป็นปัญญา แยกแยะได้ว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี สิ่งไหนควรทำ สิ่งไหนไม่ควรทำ สิ่งไหนเป็นกุศล สิ่งไหนเป็นอกุศล ปัจจุบันมีชีวิตที่มีความสุข ประสบความสำเร็จ - ผู้ฟังจากฉะเชิงเทรา-เมื่อได้ฟังธรรมะ ทำให้เข้าใจว่า การรบที่ยอดเยี่ยมที่สุด คือ การชนะกิเลสในจิตใจตนเอง เป็นชัยชนะที่ไม่ต้องออกรบ การอดทน ไม่ใช่เรื่องโง่ เป็นชัยชนะที่ใครก็เอาไปจากเราไม่ได้ ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ความอิจฉาในที่ทำงาน- อารมณ์ 3 ประเภท 1. อิจฉาริษยา 2. เย่อหยิ่งจองหอง 3. ความตระหนี่หวงกั้น มีความเกี่ยวข้องกันตัวอย่าง 1 เมื่อเราได้เลื่อนตำแหน่ง ได้ดีกว่าคนอื่น เราจะมีความเย่อหยิ่งเกิดขึ้น ส่วนเพื่อนร่วมงานที่ไม่ได้ ก็จะมีความอิจฉาริษยาเราขึ้นมา ตัวอย่าง 2 เรามีรถ ส่วนเพื่อนไม่มี ต่อมาเพื่อนมีรถเหมือนกับเรา เราเกิดความไม่พอใจ อิจฉาริษยาเขา ทั้งที่เราไม่ได้มีน้อยลง แต่ไม่อยากให้เขามี อย่างนี้เป็นความตระหนี่เกิดขึ้น- ความดีต่อความดีได้ ความชั่วต่อความชั่วได้ เปรียบกับการต่อเทียน-เทียนที่สว่าง แต่อยู่แวดล้อมไปด้วยเทียนที่ไม่สว่าง (พวกอวิชชาทั้งหลาย) บริเวณนั้นก็จะมืดลง มิตรที่ดี (กัลยาณมิตร) เมื่อต่อความดีกัน ความดีก็จะต่อกันไปอีกเรื่อย ๆ มากขึ้น สว่างขึ้น ส่วนมิตรไม่ดี (ปาปมิตร) ก็จะส่งต่อความไม่ดีมาให้ แม้ว่าตัวเราจะมีแสงสว่าง แต่ถ้ารอบ ๆ ไม่ดี มีแต่ความมืด ความมืดนั้นก็โดนเราบ้าง เราก็ได้รับการเบียดเบียนบ้าง- การไม่คบคนพาล จึงเป็นมงคลข้อแรกในมงคลสูตร มงคลข้อต่อมา คือ ให้คบบัณฑิต คือ ให้คบกัลยาณมิตร มีความฉลาด มีความรอบรู้ มีปัญญาเห็นตามความจริง เข้าใจว่าสิ่งใดเป็นกุศลให้ทำ สิ่งใดเป็นอกุศลไม่ทำ หากเราอยู่ใกล้บัณฑิต เราก็จะต่อความดีนั้นมาได้- ไม่ว่าเขาจะดีหรือไม่ดีกับเราก็ตาม “...
    Más Menos
    1 h y 1 m
  • ความอดทน vs การนิ่งเฉย [6726-1u]
    Jun 23 2024
    Q1: วิธีทำให้สติอยู่เหนืออารมณ์A: พระพุทธเจ้าแบ่งไว้ 3 ระดับ 1) สัตว์เดรัจฉาน: ทำตามอารมณ์ ไม่สนใจผิดชอบชั่วดี2) มนุษย์: มนุษย์ที่มีพฤติกรรมแบบสัตว์เดรัจฉาน มีการผิดศีล ทำตามความพอใจ หรืออารมณ์ของตนเป็นหลัก ไม่สนใจว่าอะไรถูกหรือผิด และมนุษย์ที่มีศีล “ศีล” คือ ความปกติของความเป็นมนุษย์ แม้จะมีอารมณ์ขึ้น-ลงอยู่บ้าง ก็ไม่ผิดศีล 3) เหนือมนุษย์: จิตใจมั่นคง ไม่โกรธ มีเมตตา อุเบกขา อยู่ตลอดเวลา เป็นจิตใจเทวดา เหนือมนุษย์ (อุตตริมนุสสธรรม) - ธรรมะที่ทำให้เป็นคนเหนือคน 1) รักษาศีล 5-ทางกาย ทางวาจา2) มีสติสัมปชัญญะ-รู้ผิดชอบชั่วดี3) ทำศีล-สติ ให้ละเอียดและมีกำลังมากขึ้น-เพื่อเอาไปใช้ทางด้านจิตใจ ทำให้แยกอารมณ์ออกจากจิตใจได้ จิตจะมีความเข้มแข็งขึ้น- คนที่รู้ตัวว่าจิตใจกำลังแปรปรวน นั่นคือ มีสติแล้ว รู้ตัวแล้ว หากฝึกให้มีสติบ่อย ๆ สติก็จะมีกำลังมากขึ้น Q2: การนิ่งเฉย VS ความอดทนA: คนอื่นคิดอย่างไร ไม่สำคัญเท่ากับว่าเราคิดอย่างไร ไม่ควรให้น้ำหนักกับคำพูดของคนอื่น แต่ให้น้ำหนักกับความคิดหรือสภาวะจิตของเราจะดีกว่า เช่น เมื่อถูกคนอื่นบอกว่าเราเป็นคนโง่ แต่เรารู้ตัวเองว่าเราไม่ได้โง่ เรากำลังมีความอดทนอยู่ ความอดทนนี้เป็นปัญญา เราเป็นผู้มีปัญญา ดังนั้น คำกล่าวหาว่าเราโง่ จึงเป็นสิ่งที่ไม่มีน้ำหนักเลย อย่างไรก็ตาม เราต้องทบทวนตัวเองด้วยว่าเรามีข้อบกพร่องจริงหรือไม่ ถ้าจริงก็ต้องแก้ไข- เราต้องอาศัยความอดทนต่อผัสสะที่ไม่น่าพอใจ จึงจะสามารถรักษากุศลธรรมให้เกิดขึ้นได้ ทำศีล สมาธิ ปัญญา ให้เกิดขึ้น จึงจะถือเป็นกำไรที่เกิดมาในโลก Q3: จดจำบุญที่เคยทำไว้ไม่ได้A: ความจำมี 2 ส่วน คือ สติ และความระลึกได้ ความระลึกได้เรียกว่าสติ ถ้านึกถึงเรื่องไม่ดี ก็เป็นมิจฉาสติ ถ้านึกถึงเรื่องดี ก็เป็นสัมมาสติ การกระทำอะไรลงไปก็ตาม ไม่ว่าด้วยกาย วาจา ใจ การกระทำนั้นจะทิ้งร่องรอยเอาไว้แน่นอน จิตของเราก็เช่นกัน ไม่ว่าทำอะไรด้วยกาย วาจา ใจ ก็จะทิ้งร่องรอยไว้ ร่องรอยนั้นเป็นบารมี เป็นอาสวะที่สะสมไว้ในจิตของเรา จนกลายออกมาเป็นนิสัยของเรา- ให้ชำระอาสวะที่มีอยู่ในจิต ด้วยศีล สมาธิ ...
    Más Menos
    55 m
  • มองโลกแง่ดี-แง่ร้าย กับ “ทางสายกลาง” [6725-1u]
    Jun 16 2024
    ช่วงไต่ตามทาง: คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว - คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว เจอปัญหาสูญเสียรายได้ช่วงโควิดและลูกป่วย แต่เลือกที่จะอยู่กับปัจจุบัน ไม่ส่งจิตออกนอก ไปนึกถึงอดีตหรืออนาคตที่ยังมาไม่ถึง แล้วค่อย ๆ ทำงานที่มีอยู่ ด้วยกำลังใจเต็มที่ ไม่ให้จิตไหลไปในทางอกุศล- ในสถานการณ์เดิมเดียวกัน เมื่อจิตใจถูกปลอบประโลมด้วยธรรมะ จะทำให้เกิดความเข้าใจสถานการณ์ มองโลกในอีกมุมหนึ่ง ความเข้าใจสถานการณ์นี้ทำให้ความยืดถือในจิตใจน้อยลงและวางได้ จึงไม่หนัก แม้ปัญหาจะยังไม่ได้หายไป แต่ก็ไม่ทำให้จิตใจเกิดความท้อแท้ ท้อถอย เมื่อจิตใจมีความคลี่คลายลง เบาลง (หมายถึง จิตใจมีความหนักแน่นมากขึ้น ไม่สะดุ้งสะเทือนไปตามการเปลี่ยนแปลงภายนอก) จะสามารถอยู่กับสถานการณ์นั้น ๆ ได้ และมองเห็นช่องได้ว่าควรทำอย่างไรกับปัญหาที่เจอ แล้วค่อย ๆ แก้ปัญหาไป ปัญหาก็จะค่อย ๆ คลี่คลายลงได้- คนที่ประสบทุกข์อยู่ในชีวิตประจำวัน แต่มีธรรมะอยู่ในจิตใจ อยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ มีมากมายทั้งในสมัยพุทธกาล และในยุคปัจจุบัน เมื่อเข้าใจธรรมะแล้ว เราจะเห็นทุกข์ และอยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ นั่นเอง ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: มองโลกแง่ดี – แง่ร้าย กับ ทางสายกลาง- การมองโลกในแง่ดี การมองโลกในแง่ร้าย และการมองโลกตรงกลางระหว่างแง่ดีกับแง่ร้าย มีข้อดี และข้อเสียในตัวเอง ข้อเสีย (แง่ร้าย) = กังวลใจ อิจฉาริษยา หวาดกลัว ระแวง เคลือบแคลง ไม่พอใจ เกิดโทสะข้อเสีย (แง่ดี) = ประมาทเลินเล่อ ลุ่มหลง เพลิดเพลิน พอใจ มีโมหะ มีราคะข้อดี (แง่ร้าย) = รอบคอบ ไม่ถูกหลอก-ถูกโกง ปลอดภัยจากสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งข้อดี (แง่ดี) = จิตใจเย็น มีเมตตา มีความเห็นอกเห็นใจข้อดี-ข้อเสีย (ตรงกลางระหว่างแง่ดีกับแง่ร้าย) = ต้องพ่วงทั้งข้อดีและข้อเสียของการมองโลกแง่ดี-แง่ร้ายมาด้วย- ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ได้ยกทางสุดโต่งสองข้าง คือ ทำตัวให้ลำบากชนิดต้องทรมานตนเอง สุดโต่งอีกข้างหนึ่ง คือ เสพกามอย่างมาก ชุ่มไปด้วยกาม ส่วนตรงกลางมีหลายแบบ แบบแรก คือ ทรมานตนเองบ้าง แล้วก็ไปชุ่มอยู่ด้วยกามบ้าง แบบที่สอง คือ ...
    Más Menos
    58 m
  • บุญจากการนั่งสมาธิ [6724-1u]
    Jun 9 2024
    Q1: บุญจากการนั่งสมาธิA: แต่ละคนมองเห็นคุณค่าของของแต่ละอย่างไม่เท่ากัน และสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะมีค่า ขึ้นอยู่กับเวลา สถานการณ์ และเงื่อนไขต่างๆ ส่วนความเห็นของใครจะถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับประโยชน์มากหรือน้อย การนั่งสมาธิทำให้จิตมีความสงบ เกิดความสุขจากในภายใน ก็จะได้บุญมากกว่า เพราะวัดจากความสุขและประโยชน์ที่เกิดขึ้น - ประโยชน์จากการนั่งสมาธิ 4 ประการ1) คนอื่นเอาไปจากเราไม่ได้ = ไม่เป็นสาธารณะกับคนอื่น2) ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม = การนั่งสมาธิ แผ่เมตตา ไม่มีจำกัด3) ประโยชน์ที่จะเกิดในเวลาต่อๆ ไป = เมื่อจิตเป็นสมาธิ ทุกข์ที่ตามมามีน้อย เห็นทางออกของปัญหา ทำให้ตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เทียบกับการอิ่มท้อง ซึ่งยังมีทุกข์อยู่ ต้องไปถ่ายออก มีทุกข์ตามต่อมาอีก4) ทำให้ถึงนิพพานได้ = เมื่อจิตเป็นสมาธิ เห็นทางออก ปฏิบัติตามมรรค ปล่อยวาง เห็นความไม่เที่ยง จิตสว่าง หลุดพ้น ซึ่งประโยชน์ข้อนี้มีมาก ทั้งในเวลาปัจจุบันและในเวลาต่อมา ๆ อีก- โดยสรุป บุญจากการให้ทาน ได้อยู่ แต่ได้น้อย เมื่อเทียบกับการรักษาศีล เจริญภาวนา ที่เกิดประโยชน์ 4 ข้อ ข้างต้น อันเป็นความเห็นของพระพุทธเจ้า เป็นความเห็นของคนฉลาด การที่เราฟังคนฉลาดที่ทำมาแล้ว พิสูจน์มาแล้วว่ามีประโยชน์อย่างนี้ เราก็ต้องพิสูจน์ว่าเกิดประโยชน์เช่นนั้นจริงหรือไม่ ด้วยการนั่งสมาธิทำจิตให้สงบเป็นสมาธิ ซึ่งเป็นประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ด้วยตัวเอง Q2: บุญจากการให้ทาน VS บุญจากการนั่งสมาธิA: การให้ทานที่ต่อชีวิตผู้อื่น เช่น การใส่บาตร ต้องให้ทุกวัน ไม่จบ ให้แล้วยังต้องให้อีก ประโยชน์จึงเกิดขึ้นแค่วันเดียว แต่การนั่งสมาธิ เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้ว ตัวเราได้ชื่อว่ารักษาคนอื่น ทั้งทางกาย วาจา ใจ เพราะจะไม่เบียดเบียน มีเมตตา อดทน มีความรักให้กัน ไม่คิดประทุษร้าย - ใจเป็นหลัก ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน - ถ้าจิตเราดี วาจากับการกระทำก็จะดีไปด้วย- การให้ทาน (ทางกาย) และการนั่งสมาธิ (ทางใจ) สามารถไปด้วยกันได้ เช่น พระอรหันต์ ต้องกำจัดกิเลสออกให้หมด เป็นเรื่องสภาวะจิต แต่ถ้าไม่ได้ให้ทานมาก่อน ก็จะมีลาภสักการะน้อย ...
    Más Menos
    54 m
  • "ระวังความคิด" เพื่อให้ถึงความสำเร็จ [6723-1u]
    Jun 2 2024
    ช่วงไต่ตามทางคุณแชมป์สังเกตตนเองว่า ยังมีทิฎฐิที่ว่าการปฏิบัติธรรมของตนดีกว่าคนอื่น เก่งกว่าคนอื่น คนอื่นทำผิดหมด จิตใจกระด้าง มีความเศร้าหมอง พูดจาไม่รักษาน้ำใจคนอื่น ทำให้เสียเพื่อน เกิดการเบียดเบียนคนอื่น แต่เมื่อได้ฟังธรรมะแล้ว เกิดปัญญา จิตใจมีความนุ่มนวลอ่อนลง มีความเมตตากรุณา มีปัญญาเข้าใจประวัติพุทธศาสนา ที่มาของคำสอน เข้าใจสถานการณ์ปัจจุบัน มีความมั่นคงในธรรมะในกระบวนการของมรรค 8 คนรอบข้างได้รับกระแสแห่งปัญญาและเมตตา นี่เป็นตัวอย่างของคำสอนที่ว่า “อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา” ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ : อยู่คนเดียวให้ระวังความคิดการปรุงแต่งมีได้ 3 ทาง ได้แก่ ทางกาย (การกระทำ) ทางวาจา (คำพูด) และทางใจ (ความคิด)เมื่อมีการตั้งเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีการ “พัฒนาทักษะ” เกิดขึ้นเพื่อทำสิ่งนั้นให้เกิด “ความสำเร็จ” ซึ่งจุดที่การพัฒนาทักษะเกิดขึ้นจะเป็นจุดที่ “อุปสรรค” เกิดขึ้นเช่นกัน เปรียบกับเครื่องบิน หากไม่มีลมต้านก็จะไม่มีแรงยกให้บินได้, มรรค หากไม่มีสิ่งมาทดสอบให้หลุดจากมรรคก็จะไม่รู้ว่ากำลังเดินตามทางมรรคอยู่หรือไม่, จะรู้สุขได้ ต้องมีทุกข์เสียก่อน เป็นต้นความคาดหวังว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะสำเร็จด้วยความราบรื่น ปราศจากอุปสรรค เป็นการเข้าใจผิด แต่ควรปรารถนาให้ทักษะ, ความรู้, ความเข้าใจในเรื่องนั้นเกิดขึ้นกับเราอย่างง่ายดาย เพื่อใช้ทักษะนั้นก้าวผ่านอุปสรรคไปได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย วิธีพัฒนาทักษะ คือ นำวิธีการของคนที่เขาเคยทำสำเร็จแล้ว มาใช้เป็นแผนพัฒนาทักษะของตัวเรา อย่างนี้เรียกว่า “การกระทำโดยแยบคาย” เช่น คนที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ, คนที่เคยสอบผ่านแล้ว, คนที่เคยลดน้ำหนักได้แล้ว“ความคิดของเรา” บางทีก็เป็นตัวที่ขัดขวางสิ่งที่เราต้องการทำให้สำเร็จ เช่น คิดว่าทำไม่ได้ ไม่มั่นใจ แต่ไม่ว่าจะมีความคิดว่าทำได้ (มั่นใจ) หรือทำไม่ได้ (ไม่มั่นใจ) ก็ตาม ความคิดเหล่านี้ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย ที่สำคัญคือ จะลงมือทำอย่างไรโดยแยบคายต่างหาก “โดยแยบคายนี้” ...
    Más Menos
    55 m
  • เพื่อนร่วมงานกับความเป็น "มิตร" [6722-1u]
    May 26 2024
    หลักธรรมเกี่ยวกับ “มิตร”- มิตรมี 2 ประเภท 1) กัลยาณมิตร = เพื่อนดี มี 4 ลักษณะ(1) มิตรมีอุปการะ = คอยให้ประโยชน์ รักษาเราเมื่อประมาท คอยตักเตือน รักษาทรัพย์ให้ เมื่อเราประมาท เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้ เมื่อมีเหตุจำเป็นเดือดร้อน เป็นที่พึ่งได้เป็นสองเท่าจากที่เคยออกปากไว้(2) มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข = มิตรที่บอกความลับของตนแก่เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน ไม่ละทิ้งในยามอันตราย แม้ชีวิตก็สละให้กันได้(3) มิตรแนะประโยชน์ = ห้ามจากความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง บอกทางสวรรค์ให้(4) มิตรมีความรักใคร่ = ไม่ยินดีในความเสื่อมของเพื่อน ยินดีในความเจริญของเพื่อน ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน สนับสนุนคนที่สรรเสริญเพื่อน2) ปาปมิตร = เพื่อนชั่วที่จะนำความไม่ดีมาให้ มี 4 ลักษณะ (1) มิตรปอกลอก = เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เวลาจะเสีย ให้นิดเดียว (2) มิตรดีแต่พูด = เอาสิ่งที่ล่วงไปแล้วมาพูด อ้างสิ่งที่ยังมาไม่ถึง สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ เมื่อมีกิจเกิดขึ้น แสดงความขัดข้อง (3) คนหัวประจบ = เราจะทำดี ก็คล้อยตาม เราจะทำชั่ว ก็คล้อยตาม ต่อหน้าสรรเสริญ ลับหลังนินทา (4) มิตรที่ชักชวนไปในทางชิบหาย = ชวนดื่มเหล้า ชวนไปเที่ยวตามตรอกซอกซอยในเวลากลางคืน ชวนไปดูมหรสพ ชวนเล่นการพนัน Q1: เพื่อนร่วมงานที่มั่นใจในตัวเองสูงมาก ไม่ฟังคนอื่นA: คนแบบนี้ไม่ใช่คนไม่ดี (ปาปมิตร) เพียงแต่เขาไม่มีทักษะในการทำงานกับผู้อื่น เราอาจต่างคนต่างอยู่กับเขาก็ได้ หรืออาจเป็นมิตรแนะประโยชน์ก็ได้1) ต้องไม่ทำตนเป็นคนไม่ดีเสียเอง ไม่หงุดหงิด ไม่พอใจเขา2) แนะนำวิธีให้เขาทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี 3) ทำตนให้เป็นเพื่อนที่ดีสำหรับเขา ให้เขามีศรัทธาในตัวเรา พูดแนะนำอะไรไปเขาก็จะรับฟัง - ถ้าหากว่าเราสามารถนำธรรมะ เข้าไปสู่องค์กรได้ พฤติกรรม และทัศนคติของคนในองค์กรที่มีศีล สมาธิ ปัญญา จะมีจิตใจที่นุ่มนวลลง จะเป็นวิธีที่เอาชนะได้อย่างถาวร Q2: ลูกน้องลางานบ่อยA: หน้าที่ของเจ้านายอย่างหนึ่ง คือ ให้ลูกน้องทำงานตามกำลัง เมื่อประสิทธิภาพการทำงานของลูกน้องลดลง เจ้านายก็ต้องปรับงานในสิ่งที่เขาทำได้ ...
    Más Menos
    53 m