6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก  Por  arte de portada

6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก

De: ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
  • Resumen

  • ในพระไตรปิฏกมีอะไร ทำความเข้าใจไปทีละข้อ, เปิดไปทีละหน้า, ให้จบไปทีละเล่ม, พบกับพระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณโณ และ คุณเตือนใจ สินธุวณิก, ล้อมวงกันมาฟัง มั่วสุมกันมาศึกษา จะพบขุมทรัพย์ทางปัญญา ในช่วง "ขุดเพชรในพระไตรปิฏก". New Episode ทุกวันเสาร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    2024 panya.org
    Más Menos
activate_primeday_promo_in_buybox_DT
Episodios
  • ทานที่เหมือนกันแต่ให้ผลที่ต่างกัน [6727-6t]
    Jul 5 2024

    ผลหรืออานิสงส์แห่งทานนั้นจะมากหรือน้อยย่อมอาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็นความปราณีตของทาน หยาบหรือละเอียด รวมไปถึงความศรัทธาของผู้ให้ ก่อนให้-ระหว่างให้-หลังให้ และผู้รับที่มีกิเลสเบาบาง หรือกำลังปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลส หรือเป็นผู้ที่หมดกิเลสแล้ว


    ในข้อที่ #52 ทานมหัปผลสูตร เป็นเรื่องราวที่ชาวเมืองกรุงจำปามีข้อสงสัยในเรื่องผลแห่งทาน ว่า “ทำไมทานที่เหมือนกัน จึงให้ผลที่แตกต่างกัน” โดยมีท่านพระสารีบุตรเป็นตัวแทนในการกราบทูลถามพระผู้มีภาคเจ้า แล้วคำตอบก็คือ “การตั้งจิตของผู้ให้ทานนั่นเอง” โดยได้อธิบายไว้ถึง 7 ระดับด้วยกัน และมีอานิสงส์ให้ไปเกิดในสวรรค์ 6 ชั้น ไล่ไปตามลำดับจนไปถึงชั้นพรหมกายิกา โดยมีรายละเอียดในการให้ทานเพราะ

    1. หวังผลของทาน - ให้ด้วยความอยาก
    2. การให้ทานเป็นการดี - ให้เพราะยำเกรง
    3. บรรพบุรุษเคยทำไว้ - ให้เพราะละอายกลัวบาป
    4. สมณะจะหุงหาอาหารกินเองไม่ได้ - ให้ของดี ๆ ก่อน
    5. เป็นทักขิไนยบุคคล - ให้ของที่ควรแก่ทักขิไนยบุคคล
    6. ให้แล้วจิตผ่องใส
    7. เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต - เพื่อให้จิตเกิดสมถะและวิปัสสนา

    ข้อที่ #53 นันทมาตาสูตร ความน่าอัศจรรย์ในธรรม 7 ประการของนันทมาตา หรือที่คุ้นเคยในชื่อของนางอุตตรานันทมาตา ซึ่งนางได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะฝ่ายอุบาสิกาในการยินดีในฌาน เป็นเรื่องราวของการสวดปารายนสูตรของนางนันทมาตา แล้วท้าวเวสวัณมหาราชได้มาสดับฟังจนจบอนุโมทนาในบุญกุศล เป็นเหตุให้นางได้พบพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร แล้วได้เล่าถึงความน่าอัศจรรย์ทั้ง 7 ประการของนางให้ท่านทั้งสองฟัง

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มหายัญญวรรค


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Más Menos
    54 m
  • การแสวงหาอันประเสริฐ [6726-6t]
    Jun 28 2024

    ปริเยสนาสูตร ว่าด้วยการแสวงหา 4 อย่างที่ประเสริฐ และไม่ประเสริฐ ถ้าคุณรู้ว่าเรามีความแก่ ความเจ็บไข้ ความตาย และความเศร้าหมองเป็นธรรมดา แล้วยังคงแสวงหาในสิ่งเหล่านี้ นั่นเป็นการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ พระโพธิสัตว์ทราบถึงโทษในสิ่งเหล่านี้ จึงเริ่มแสวงหาทางอันประเสริฐที่ทำให้ถึงแดนอันเกษม นั่นคือ นิพพาน น้อมเข้ามาดูที่ตัวเรา ด้วยความเป็นฆราวาสยังคงต้องแสวงหา ในการแสวงหานั้นควรจะมีสิ่งประเสริฐแทรกแซงอยู่บ้าง อย่างน้อยทราบถึงกระบวนการที่จะอยู่ในมรรค ดำเนินชีวิตอยู่ในมรรค ใจตั้งไว้ที่นิพพาน เห็นโทษ แล้วอยู่กับมันให้ได้ด้วยมรรค ก็จะเป็นการปูทางสู่นิพพานได้

    สังคหวัตถุสูตร เป็นธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวที่ก่อให้เกิดความสามัคคี คือ การให้ทาน เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก) อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) และสมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ) ถ้าขาดธรรมนี้ชนนั้นจะเกิดความแตกแยก

    มาลุงกยปุตตสูตร พระพุทธเจ้ากล่าวสอนธรรมะสั้น ๆ เพื่อการหลีกเร้นปฏิบัติเอาจริงต่อมาลุงกยบุตร คือ เหตุเกิดแห่งตัณหา 4 ประการ หรือกิเลสในปัจจัย 4 นั่นเอง “ตัณหาจะละได้ก็ด้วยมรรค 8” ละตัณหาละมานะได้ก็พ้นทุกข์

    กุลสูตร ตระกูลใหญ่จะดำรงทรัพย์อยู่ได้ ถ้ามีการแสวงหาวัตถุที่หายไป ซ่อมแซมของเก่า รู้ประมาณในการบริโภค และตั้งสตรีหรือบุรุษที่มีศีลเป็นใหญ่

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อภิญญาวรรค


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Más Menos
    57 m
  • เครื่องสอบพรหมจรรย์ “เมถุนสังโยค” [6725-6t]
    Jun 21 2024
    Q&A จากคำถามในสัญญาทั้ง 7 ประการ จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีลำดับในการเจริญสัญญา คำตอบ ไม่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น ต้นทองกวาวจะบอกว่ามีสีแสด.. ก็ใช่ หรือใบดก.. ก็ใช่ หรือจะมีลำต้นดำ.. ก็ใช่ คือทั้งหมดก็เป็นลักษณะของต้นทองกวาวเช่นเดียวกับสัญญา 7 ประการ เมื่อเจริญสัญญาอย่างหนึ่ง สัญญาอื่น ๆ ก็เจริญขึ้นมาด้วย เปรียบเสมือนทางที่จะขึ้นไปบนยอดเขา (นิพพาน) จะขึ้นจากทิศใดก็สามารถขึ้นไปถึงยอดเขาได้เหมือนกัน ข้อที่ #50_เมถุนสูตร ว่าด้วยเมถุนสังโยค 7 ระดับ เป็นเรื่องราวของชาณุสโสณิพราหมณ์ที่มีความสงสัยในพระพุทธเจ้าที่พูดว่าตนเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งที่เคยอยู่ครองเรือนมาก่อน มีปราสาทถึง 3 หลังและแวดล้อมด้วยนางรำ ซึ่งแตกต่างกับลัทธิของตนที่ต้องประพฤติพรหมจรรย์ตามระยะเวลาถึง 48 ปี จึงจะเรียกได้ว่า “บรรลุอรหันต์” พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงผู้ใดผู้หนึ่งว่า “เขาประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์ บริบูรณ์ บุคคลนั้น เมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงเรานั้นแล เพราะเราประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย บริสุทธิ์ บริบูรณ์” และทรงได้แจกแจงเมถุนสังโยคทั้ง 7 ระดับแก่ ชาณุสโสณิพราหมณ์จนเกิดความปิติเลื่อมใสปฏิญาณตนขอเป็นอุบาสก*ถึงแม้ว่าการประพฤติพรมหมจรรย์นั้นจะไม่มีกิจกรรมของคนคู่ก็จริงอยู่ แต่ถ้ายังยินดีในสัมผัสทางกาย ยินดีในการพูดสนุกล้อเล่น ยังยินดีในเสียงที่ได้ยิน ยังยินดีในรูปที่ตาเห็น ยังหวนระลึกถึงรูปเสียงในคนนั้นอยู่ ยังนึกถึงกามคุณ 5 และยังยินดีในกามของเหล่าเทวดาทั้งหลายอยู่ เราเรียกผู้นั้นว่า ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ ย่อมไม่หลุดพ้นจากทุกข์ไปได้ ข้อที่ #51_สังโยคสูตร ว่าด้วยความเกี่ยวข้องและความไม่เกี่ยวข้อง 7 ประการในสตรีและบุรุษ กล่าวคือ เมื่อกำหนดความเป็นตัวตนในตนขึ้นมา ย่อมกำหนดความเป็นตัวตนในบุคคลอื่นได้เช่นกัน เมื่อมีความยึดในตนขึ้นมาได้มันก็สามารถคลืบคลานไปยึดถือในบุคคลอื่นและสิ่งอื่นได้เหมือนกันนี้คือความเกี่ยวข้อง ...
    Más Menos
    56 m

Lo que los oyentes dicen sobre 6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก

Calificaciones medias de los clientes

Reseñas - Selecciona las pestañas a continuación para cambiar el origen de las reseñas.