7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)  Por  arte de portada

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

De: ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
  • Resumen

  • การพูดคุยปรึกษา คือ สากัจฉาทำให้เกิดความไม่ประมาทและมีปัญญาได้, มีคำถามอยู่ที่ไหน ก็มีคำตอบอยู่ที่นี่, ตอบทุกข้อสงสัย ทั้งในการดำเนินชีวิต, หลักธรรม หรือการภาวนา โดย ร่วมพูดคุยกับคุณเตือนใจ สินธุวณิก และ พระอาจารย์พระมหาไพบูลย์ อภิปุณฺโณ ในช่วง "ตามใจท่าน". New Episode ทุกวันอาทิตย์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    2024 panya.org
    Más Menos
activate_primeday_promo_in_buybox_DT
Episodios
  • ระบบของอริยสัจสี่ [6727-7q]
    Jul 6 2024
    Q : มีภิกษุที่อยู่ในอรหันตมรรคแต่มรณภาพก่อน จะบรรลุอรหันตผลหรือไหม?A : มี ภิกษุที่เป็นอาจารย์ของพระโกกาลิกะ ตอนที่เป็นพระสงฆ์อยู่ บรรลุอนาคามีแล้วไปจุติเป็นพรหมชื่อ “ตุทุปัจเจกพรหม” และมีในพระสูตร “ชนวสภสูตร” กล่าวไว้ ถึงการประชุมของเหล่าเทวดา ว่ามีภิกษุที่เป็นสกทาคามี มรณภาพแล้ว ไปเกิดในสวรรค์ชั้นยามา พอเห็นเหตุการณ์นี้รู้สึกละอายว่าต่ำต้อย ด้วยความละอายในข้อนี้ ตั้งจิตไว้ถูก จึงได้เลื่อนขึ้นไปอยู่ในชั้นพรหม เพราะฉะนั้นการไปเกิดโดยการฝึกที่ยังไม่เสร็จนั้น มีแน่นอน เพราะฉะนั้น เราควรทำที่สุดแห่งทุกข์ ให้จบ ให้สิ้น ให้ได้ในชาตินี้จะเป็นการดี Q : อยากให้เพิ่มรายการออกอากาศช่วงก่อนนอนA : รายการที่ฟังไปตอนเช้า เราสามารถฟังก่อนนอนอีกรอบหนึ่ง ฟังแล้วตั้งจิตปฏิบัติตาม ฟังแล้วนำมาทบทวนไตร่ตรอง ว่าเราจะปฏิบัติตามได้อย่างไรบ้าง แล้วก็ฝึกทำ ฝึกปฏิบัติ ฝึกให้ละเอียดลงไป Q : อนิจจังทุกขัง อนัตตาA : การที่เราฟังเฉย ๆ กับการฟังแล้วใคร่ครวญนั้นต่างกัน เพราะการคิดทั่ว ๆ ไปคือฟุ้งซ่าน เราต้องเปลี่ยนวิธีคิด ให้คิดเป็นระบบแห่งความเห็นที่ถูกต้อง คือระบบของอริยสัจสี่ คิดเป็นระบบด้วยจิตที่เป็นสมาธิ นั่นคือการพิจารณา คือโยนิโสมนสิการ มีความเพียร คือวิริยะ ทำตามความเชื่อคือศรัทธา แล้วลงมือทำ พิจารณาไปใน "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" จดจ่อลงไปตรงจุดที่เรายึดถือ เราจะวางได้ จะพัฒนาได้ / ดวงจันทร์ไม่มีแสงในตน แต่ว่าสว่างขึ้นมาได้ เพราะอาศัยแสงจากพระอาทิตย์ แสงสว่างคือธรรมะ พระพุทธเจ้าคือพระอาทิตย์ เราจะอาศัยแสงจากพระอาทิตย์ ทำตัวเราให้สว่างขึ้นมา ด้วยธรรมะที่ท่านได้บอกสอนไว้ ก็จะครบเป็นองค์แห่งรัตนสามที่ประเสริฐ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ / พระพุทธศาสนาจะยังอยู่ตลอดไปตราบกาลนาน ถ้ายังมีคนปฏิบัติตามมรรค 8 อยู่ มีคนบอกคนสอนอยู่ แต่หากเราไม่สืบต่อ ไม่ปฏิบัติ ปล่อยคำสอนให้จบสิ้นไป เราจะกลายเป็น “อันติมบุรุษ” คือ คนสุดท้าย แต่ถ้าเราทำต่อ คนอื่นเขาเห็น แล้วเขาทำต่อไป มันก็จะต่อไปเรื่อย ๆ Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
    Más Menos
    55 m
  • โทษของศรัทธา [6726-7q]
    Jun 29 2024
    Q : อตัมมยตา?A : ท่านตรัสไว้ใน “เสขปฏิปทาสูตร” ว่า บุคคลที่เป็นปุถุชน ปฏิบัติมาจนเป็นเสขะ จนกระทั่งจะมาสุดแล้ว จะรู้แจ้งชัดซึ่งนิพพานและไม่มั่นหมายในนิพพาน เพราะนิพพาน เป็นสิ่งที่ ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ขีณาสพได้รู้รอบแล้ว คำว่า “ตมฺมโย” แปลว่า ยังเกี่ยวเนื่องด้วยอยู่ เกาะอยู่ ยังไม่เป็นอิสระจากสิ่งนั้น (ในที่นี้คือนิพพาน) คำว่า “อตมฺมโย” แปลว่า ภาวะที่ไม่ได้เนื่องด้วยสิ่งนั้น เป็นอิสระจากนิพพานนั้น (อตัมมยตา) อุปมาอุปไมย ดังดอกบัวอาศัยโคลนตมเกิด แต่พอโผล่พ้นน้ำแล้ว ไม่ได้โดนโคลนตมนั้นอีก คือแยกจากกัน ผ่องแผ้วจากกัน Q : โทษของศรัทธาA : นี่เป็นโทษของศรัทธา หากบุคคลที่เราศรัทธา มีเหตุเปลี่ยนไปจากเดิม แล้วเราไม่ศรัทธาในภิกษุเหล่าอื่น เมื่อไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไม่คบหาในภิกษุเหล่าอื่น ก็จะไม่ได้ฟังธรรม เมื่อไม่ได้ฟังธรรม ก็จะเสื่อมจากสัทธรรม ศรัทธาเป็นสิ่งที่เราต้องสร้างขึ้นด้วยตัวเราเอง เราต้องรักษาศรัทธาของตัวเราเอง ซึ่งคนที่จะรักษาได้ต้องเป็น “โสดาปัตติผล” คือ มีศรัทธาที่หยั่งลงมั่น ไม่หวั่นไหว ไม่ต้องให้ใครมารับรองรับประกันศรัทธาให้ เราควรตั้งศรัทธาไว้ในภิกษุเหล่าอื่น ฟังความคิดเห็นของท่าน เราจะตั้งอยู่ในสัทธรรมและมีศรัทธาขึ้นมาได้ Q : อะไรเป็นที่ตั้งของศรัทธา?A : ทุกข์เป็นที่ตั้งของศรัทธา ถ้าคนที่มีทุกข์แล้วเห็นไม่ถูก ศรัทธาไม่เกิด เมื่อเจอทุกข์แล้ว จะมี 2 อาการ คือ 1) ร้องไห้คร่ำครวญ ทุบอก ชกตัว ถึงความเป็นผู้งุนงง พร่ำเพ้อ 2) แสวงหาที่พึ่งภายนอก ว่าใครหนอจะรู้ทางออกของความทุกข์สักหนึ่งหรือสองวิธี Q : คฤหัสบรรลุธรรมต้องมีสถานอย่างไร?A : คนที่เป็นอนาคามีมรรคหรือผล พระอรหันต์ จิตของท่านไม่น้อมไปทางกาม ไม่อยากอยู่ในกาม พอไม่อยากอยู่ก็จะมีอันต้องเป็นด้วยความที่ไม่อยากอยู่ ผู้ครองเรือนเป็นผู้ที่อยู่ในกาม เมื่อไม่อยากอยู่ในกามก็ต้องลดกามลง ในระดับศีลที่เป็นไปเพื่อพรหมจรรย์ คือ ศีล 8 การรักษาศีล 8 จะสามารถรองรับคุณธรรมนี้ได้ Q : เพราะอะไรจึงกล่าวว่าการภาวนาเป็นบุญสูงสุด?A : ท่านสอนไว้ 2 ตัวแปร คือ 1) ทำเอง ผลคือจะมั่งคั่งร่ำรวย 2) ...
    Más Menos
    56 m
  • เห็นความยึดถือด้วยปัญญา [6725-7q]
    Jun 22 2024

    Q: อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้นตรงไหน?

    A: อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรียกสั้น ๆ ว่า “ไตรลักษณ์” เป็นคุณสมบัติที่มีอยู่กับทุกสิ่งทุกอย่าง คือสิ่งที่เป็นระบบสมมุติทั้งหมด ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติ ทั้งสิ่งที่จับต้องได้ ทั้งสิ่งที่เป็นนามธรรม ทุกอย่างที่เป็นขันธ์ 5 เป็น อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา เรียกว่า “สังขตธรรม” คือ ธรรมที่ยังอยู่ในการปรุงแต่งได้ทั้งหมด จะมีคุณสมบัติของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ทุกที่อยู่แล้ว ไม่ว่าเราจะยึดถือหรือไม่ยึดถือ ลักษณะของสังขตธรรม คือ มีการเกิดปรากฏ มีความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่มีภาวะอื่น ๆ ปรากฏ ส่วนธรรมะที่ไม่มีการปรุงแต่ง (นิพพาน) เรียกว่า “อสังขตธรรม” ลักษณะของอสังขตธรรม คือ ไม่มีการเกิดปรากฏ ไม่มีความเสื่อมปรากฏ เมื่อตั้งอยู่ไม่มีภาวะอื่น ๆ ปรากฏ

    Q: จะเห็นปัญญาแท้จริงได้ในสิ่งที่เรายึดถือเราจะเห็นได้อย่างไร? ใครเป็นผู้เห็น ?

    A: การที่เราไม่เห็น มี 2 แบบ คือ 1) ไม่เห็นเพราะเราไม่ยึดในสิ่งนั้น 2) ไม่เห็นแล้วเราจึงยึด ยึดเพราะเราไม่เห็น เพราะเราเพลินพอใจ พอเราเพลินเราพอใจในสิ่งใด สิ่งนั้นคืออุปาทาน (ความยึดถือ) การที่เราจะรู้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ ก็ต้องตรงที่เราไม่รู้ ตรงที่เรายึดถืออยู่ เราจะเห็นตรงที่เรายึดถือได้ ก็ด้วยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา คือ “ภาวนามยปัญญา” เราจะมีภาวนามยปัญญาได้ ก็ด้วยการที่เรามีศรัทธา อาศัยการฟัง (สุตตมยปัญญา) การฝึกสติ สมาธิ ทำความเพียร (วิริยะ) ทำความเข้าใจ ใคร่ครวญ (จินตมยปัญญา) เราต้องทำตามมรรค 8 เพื่อปัญญาที่เป็น “โลกุตรปัญญา” เกิดขึ้น เราจึงจะเห็นสิ่งที่เป็นนิจจัง ว่าเป็นอนิจจัง จึงจะเห็นสิ่งที่เป็นสุขขัง ว่าเป็นทุกขัง จึงจะเห็นสิ่งที่เป็นอัตตา ว่าเป็นอนัตตา


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Más Menos
    56 m

Lo que los oyentes dicen sobre 7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

Calificaciones medias de los clientes

Reseñas - Selecciona las pestañas a continuación para cambiar el origen de las reseñas.