1 สมการชีวิต  By  cover art

1 สมการชีวิต

By: ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
  • Summary

  • นำ "โจทย์" จากชีวิตจริงมาวิเคราะห์แจกแจง, เปิดประเด็นปัญหา ขุดคุ้ยคำตอบที่ซ่อนอยู่ แล้วปรับสมดุลย์ด้วยสัจจะธรรม เพื่อให้เห็นเส้นทางดำเนินต่อไปในชีวิต ในช่วง "สมการชีวิต". New Episode ทุกวันจันทร์ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    2024 panya.org
    Show more Show less
Episodes
  • นิสัย 22 อย่าง ที่ควรละ [6719-1u]
    May 5 2024
    อุปนิสัยของคนที่เคยบวชแล้วสึกออกไป (ทิด)- หลังจากสึกแล้ว ออกไปอยู่ครองเรือน จะมีความรับผิดชอบขึ้น ใจเย็นขึ้น มีอุปนิสัยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นกว่าก่อนบวช แต่อุปนิสัยดี ๆ เหล่านั้น อาจจืดจางได้ ขึ้นอยู่กับว่าได้สร้างเหตุเพื่อรักษาความดีนั้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่ เช่น นั่งสมาธิ การคบเพื่อน เป็นต้น นิสัย 22 อย่าง ที่ทำให้ชีวิตตกต่ำลง 1) ไม่ยอมตื่น–นอนในเวลาที่ไม่ควรจะนอน2) เสพความบันเทิงมากเกินไป3) ไม่เข้าหาบัณฑิต 4) แวดล้อมด้วยคนเทียมมิตร–เอาแต่ได้ มีภัยไม่ช่วย ปอกลอก ต่อหน้าอย่างลับหลังอย่าง หัวประจบ ชักชวนไปในทางไม่ดี5) อยู่กับศพ–อยู่กับคนไม่มีศีล6) ไม่เปิดทางน้ำเข้า–ปิดกั้นไม่ให้มีทรัพย์สินเข้า ไม่ขยันทำมาหากิน ไม่หาแหล่งรายได้อื่น7) ไม่ปิดทางน้ำออก–เปิดทางให้ทรัพย์สินไหลออก, อบายมุข 6 (ดื่มสุรา เที่ยวกลางคืน ดูการละเล่น การพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร เกียจคร้านในการทำงาน)8) ไม่ทำงบประมาณ–ไม่มีสมชีวิตา ไม่รู้รายรับรายจ่าย ทำให้ไม่รู้จักสมดุล ไม่รู้จักการใช้จ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่ (ใช้จ่ายในครัวเรือน รักษาทรัพย์ สงเคราะห์ผู้อื่น ให้)9) ไม่ฝังทรัพย์–ไม่ทำบุญให้ทาน ไม่บริจาคในเนื้อนาบุญ10) ไม่จ่ายหนี้–ไม่ดูแลบำรุงเลี้ยงบิดามารดา11) ไม่ให้คนยืม–ไม่สงเคราะห์ผู้อื่น12) เติมเนื้อไม้ใหม่–ไม่ศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของตน ศึกษาหาความรู้ที่ไม่ถูกทาง 13) มีตาเดียว–หาแต่ทรัพย์อย่างเดียว โดยไม่สนวิธีการได้มา (ตั้งอยู่ในศีลธรรมหรือไม่ เป็นกุศลธรรมหรือไม่ วิญญูชนติเตียนหรือไม่ ไม่มองเห็นอนาคตทางตรงด้วยสองตาขึ้นไป)14) หวั่นไหวในโลกธรรม–ทำให้เกิดทุกข์ (ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์)15) คำนึงถึงแต่สิ่งที่ล่วงไปแล้ว–จมอยู่กับความผิดพลาดในอดีต16) มุ่งหวังในสิ่งที่ยังไม่มาถึง–กลัวผิดพลาดในสิ่งที่ยังไม่เกิด ทำให้ไม่ทำอะไร (ต่างกับการตั้งเป้าหมายที่จะต้องใช้สองตา) 17) ไม่รับภาระ–ไม่สนใจใคร อยู่ใน comfort zone ไม่รู้จักพัฒนาตนด้วยการออกจาก comfort zone ทำให้ไม่เกิดความเจริญก้าวหน้า18) ไม่สนทนาธรรมตามกาล–ไม่ทำข้อปฏิบัติที่ทำให้เกิดปัญญา ...
    Show more Show less
    59 mins
  • การบรรลุโสดาบันในโลกปัจจุบัน [6718-1u]
    Apr 28 2024
    Q1: โสดาบันA: โสดาบัน หมายถึง ผู้ที่จะไปถึงกระแส อยู่บนกระแส อยู่บนทาง เปรียบเหมือนกับการล่องแม่น้ำให้ออกไปสู่ทะเล คือ ทางที่จะไปสู่พระนิพพาน - คุณสมบัติของโสดาบัน (โสตาปัตติยังคะ 4)(1)–(3) มีศรัทธาอย่างลงมั่นไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ (อจลศรัทธา): โดยศรัทธาจะเต็มได้ต้องควบคู่ไปกับการมีปัญญาพอสมควร รู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไรไว้ ไม่ทำในสิ่งที่ท่านไม่ได้สอน ไม่งมงาย ตั้งมั่นในเรื่องของกรรม จิตใจจะไม่เคลื่อนคล้อยไปทางอื่น เช่น การอ้อนวอนบูชาขอร้อง เสี่ยงเซียมซี ดูหมอดู แก้เคล็ด เป็นต้น หากไม่สบายใจก็จะหาคำตอบจากในคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ไปหาคำตอบนอกคำสอนของพระพุทธเจ้า(4) มีศีล 5 ชนิดที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย - ความเป็นโสดาบัน (โสตาปัตติผล) (1) จะมีศีล ชนิดที่ไม่ใช่สีลัพพตปรามาส-จะไม่งมงาย ไม่ใช่สายมู ทุกอย่างมีเหตุมีผล(2) จะละสักกายทิฏฐิได้-เข้าใจว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง(3) จะละวิจิกิจฉาได้-ละความเคลือบแคลง เห็นแย้ง ไม่ลงใจไปได้- ประเภทของโสดาบัน 1. เอกพีชี (เกิดอีก 1 ชาติ) 2. โกลังโกละ (เกิดอีก 2-3 ชาติ) 3. สัตตักขัตตุงปรมะ (เกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ) - การบรรลุโสดาบันในยุคปัจจุบัน แม้คุณสมบัติการเป็นโสดาบันจะไม่ง่าย แต่หากเราใช้ ความเพียรในการสร้างเหตุ ความเป็นโสดาบันก็จะเกิดขึ้นได้ ให้ตั้ง “ความเพียร” ในการสร้างเหตุที่จะเป็นโสดาบัน ก็จะได้โสตาปัตติผลอย่างแน่นอน แม้จะยาก แต่ผลที่จะได้มันมาก ความทุกข์จะลดลงไปอย่างมาก ผู้ที่เป็นโสดาบันแล้ว ท่านเปรียบกับเศษฝุ่นที่ติดปลายเล็บกับปริมาณหินดินบนเทือกเขาหิมาลัย ปริมาณความทุกข์ของโสดาบันที่จะหมดสิ้นไปมากเท่านั้น ที่เหลืออยู่มีเพียงนิดเดียว- การเป็นโสดาบันจะรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยจะมีเครื่องทดสอบให้ทำผิดศีล ให้ออกนอกเส้นทางที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ ก็จะทำไม่ได้ จิตใจจะไม่น้อมไป เมื่อคุณสมบัติโสดาบันครบตอนไหน ก็เป็นโสดาบันได้ตอนนั้น กรณีที่จะเป็นโสดาบันไม่ได้ คือ ได้ทำอนันตริยกรรม (ฆ่าพ่อแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แตกกัน ทำพระพุทธเจ้าให้ห้อเลือด) Q2: ความเห็นไม่ตรงกับคู่ครองA: ...
    Show more Show less
    47 mins
  • ชนะกิเลสด้วย "ปัญญาวุธ" [6717-1u]
    Apr 21 2024
    ช่วงไต่ตามทาง: ภรรยาพาลูกหนีออกจากบ้าน- ท่านผู้ฟังรายนี้เจอเหตุการณ์ภรรยาพาลูกหนีมา กทม. โดยไม่ทราบสาเหตุ เกิดคำถามข้องใจและความเป็นห่วงมาก จิตใจไม่เป็นสุข แต่เมื่อได้ฟังพระสูตร ก็รู้สึกเย็นขึ้น จิตใจสงบลง ระงับความคิดฟุ้งซ่านลงไปได้บ้าง- เมื่อจิตใจเบา นุ่มนวล เย็นอยู่ในภายใน ก็จะสามารถหาวิธีการอื่นที่เหมาะสม นุ่มนวล ไม่เนื่องด้วยอาชญาศาสตรา เป็นไปด้วยคุณธรรม คือ ความสามัคคี เมตตา ให้อภัย หาทางออกที่เป็นกุศลธรรม ชนะทั้งสองฝ่าย ทั้งตัวเราก็ได้ประโยชน์ คือ มีกุศลธรรมเกิดขึ้นในจิตใจ อีกฝ่ายก็ได้รับความต้องการอย่างถูกต้อง มีกุศลธรรมเกิดขึ้น ด้วยการมีธรรมะเข้าไปแทรกเอาไว้- สำคัญ คือ “ปัญญา” เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นคุณมี “เครื่องมือ” ที่จะใช้งานเพื่อแก้ปัญหานั้นหรือไม่- “อาวุธ” ที่จะนำไปใช้เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่มันเร่าร้อน กดดัน บีบคั้นในทุก ๆ ด้าน ก็คือ “ปัญญา” พระพุทธเจ้าใช้คำว่า “ปัญญาวุธ”- กรณีผู้ฟังท่านนี้ ใช้ธรรมะที่ได้ฟังมาปรับให้เกิดอาวุธ คือ ปัญญาในจิตใจของตน จัดการกับสิ่งที่เป็นอกุศลในใจให้มันออกไป (ความคิดฟุ้งซ่าน ตำหนิติเตียนผู้อื่น) ให้จิตใจยังเย็นสบายอยู่ได้ นี่คือตัวอย่างการใช้ปัญญาวุธช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ปัญญาวุธ- ปัญญา คืออะไร? ท่านจัดสัมมาสังกัปปะไว้ร่วมกับสัมมาทิฏฐิ สังเคราะห์ลงในส่วนที่เรียกว่าปัญญา การที่เราคิดเรื่องนั่นนี่ นั่นแหละคือปัญญาแล้ว เช่น วันนี้จะขายของอะไร ที่ไหน จะคุยกับหัวหน้ายังไง ขับรถไปไหน ความคิดทั้งหมด คือ ปัญญา ทุกคนมีปัญญา แค่เรามีความคิดก็มีปัญญาแล้ว จะถูกหรือผิดเป็นอีกเรื่องหนึ่ง- ถ้าเราตริตรึกไปทางไหนมาก จิตเราจะน้อมไปทางนั้น จิตเราน้อมไปทางไหนมาก สิ่งนั้นจะมีพลัง นี่เป็นเทคนิคหนึ่งที่จะฝึกปัญญาของเราให้มีพลัง คนฉลาดก็กลับเป็นคนโง่ได้ และคนโง่ก็กลับเป็นคนฉลาดได้ ขึ้นอยู่กับแนวคิดของปัญญาว่าไปทางไหน- ปัญญาควรใช้ไปในทางที่ไม่คิดคดโกง เบียดเบียดผู้อื่น ไม่ใช้ปัญญาไปในทางตระหนี่ ให้รู้จักการแบ่งปัน และควรใช้ปัญญาหาความสงบให้จิตใจด้วย และควรมีมิตรที่ฉลาดมีปัญญา ...
    Show more Show less
    57 mins

What listeners say about 1 สมการชีวิต

Average customer ratings

Reviews - Please select the tabs below to change the source of reviews.