3 ใต้ร่มโพธิบท

By: ปัญญา ภาวนา ฟังธรรมะ ปัญญาภาวนา Panya Bhavana
  • Summary

  • เรียนรู้หัวข้อธรรมะ ที่เป็นแผนที่แม่บท เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ด้วยสูตร 15+45 คือนั่งสมาธิ 15 นาที แล้วตามด้วยการอธิบายหัวข้อธรรมะ 45 นาที เพื่อให้ตกผลึกความคิดเป็นสัมมาทิฏฐิ มีปัญญาเดินทางแผนที่คำสอนได้. New Episode ทุกวันพุธ เวลา 05:00, Podcast นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายการธรรมะรับอรุณ ออกอากาศทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) มีคำถาม/ข้อเสนอแนะ หรือสมัครติดตามฟังทั้ง 7 รายการ ที่ panya.org

    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    2024 panya.org
    Show more Show less
Episodes
  • อุนุปุพพิกถา เรื่องของ เนกขัมมะ การหลีกออกจากกาม [6731-3d]
    Jul 30 2024

    เนกขัมมะ ธรรมข้อสุดท้ายในอนุปุพพิกถาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามลำดับเพื่อเป็นแนวทางให้ไปถึงโลกุตระได้

    ‘เนกขัมมะ’ หมายถึง การหลีกออกจากกาม ได้แก่ ฌานสมาธิในขั้นต่างๆ

    การจะทำให้จิตน้อมไปในทางหลีกออกจากกามได้นั้น ต้องฝึกจิตให้พิจารณาเห็นบ่อยๆ ถึงคุณและโทษของกามว่า มีคุณน้อยแต่โทษมากขนาดไหนเมื่อเทียบกับเนกขัมมะที่มีคุณมากแต่โทษน้อยนิดเดียว

    อย่างไรก็ตาม สมาธิแม้ว่าจะได้บ้างไม่ได้บ้าง การตั้งจิตดำริ ‘คิดที่จะหลีกออกจากกาม’ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องตั้งไว้เสมอ

    “เนกขัมมะ” ทางสายกลาง เป็นหนึ่งในบารมี 10 ทัศ เป็นทางออกทางเดียว เพื่อการดับโทษของกาม เพื่อความสงบสุขจากในภายใน เพื่อความรู้ยิ่งรู้พร้อม ถึงสัมโพธิญาณได้

    Timestamp

    [00:01] พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ทรงดำริออกจากกาม

    [08:58] เนกขัมมะ การหลีกออกจากกาม

    [10:44] เนกขัมมะ ทางสายกลาง

    [22:44] ความสุขจากกาม กับ เนกขัมมะ

    [25:27] ฌาน ๑

    [27:22] ทุกข์ของสมาธิ

    [30:19] อานิสงค์ของเนขขัมมะ

    [35:05] โยนิโสมนัสสิการ

    [48:14] ฌานที่ ๒-๓

    [50:34] ฌาน ๔

    [52:39] ความดำริ คิดนึกที่จะออกจากกาม


    Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.

    Show more Show less
    58 mins
  • กามโภคีบุคคล : บุคคลผู้บริโภคกาม [6730-3d]
    Jul 23 2024
    กามโภคีบุคคล:บุคคลผู้บริโภคกาม เป็นผู้ที่ยังอยู่ในกระแสโลกจะเป็นผู้ที่ถูกบีบคั้นด้วยกามเสมอ ในการกล่าวถึงเรื่องของทางโลกนั้นก็ใช้คำว่ากามมาอธิบายเป็นหลักโดยในที่นี้จะกล่าวถึง กาม 2 อย่าง กาม 5 อย่าง และกามโภคีบุคคล 10 อย่างกาม 2 อย่างได้แก่ 1.กิเลสกาม 2.วัตถุกาม กาม 5 อย่าง คือ กามคุณ 5 ส่วนที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี 5 อย่างคือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่ น่าพอใจกามโภคี 10 แบ่งกลุ่มตามการแสวงหา ดังนี้กลุ่มที่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม 1.ได้ทรัพย์มาแล้วไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุขทั้งไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์ทำความดี 2.ได้ทรัพย์แล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุขแต่ไม่เผื่อแผ่จ่ายแบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี 3. ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุขทั้งเผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์นั้นทำความดี กลุ่มที่แสวงหาโดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง 4.ได้ทรัพย์มาแล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี 5.ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุขแต่ไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี 6.ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุขทั้งเผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์นั้นทำความดี กลุ่มที่แสวงหาโดยชอบธรรม7.ได้ทรัพย์มาแล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ไม่เผื่อแผ่แบ่งและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี 8.ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข แต่ไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี 9. ได้ทรัพย์มาแล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุข เผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์ทำความดี แต่ยังติดยังหมกมุ่น กินใช้ทรัพย์สมบัติโดยไม่รู้เท่าทันเห็นโทษ ไม่มีปัญญาที่จะทำตนให้เป็นอิสระเป็นนายเหนือโภคทรัพย์ กลุ่มพิเศษ: แสวงหาชอบธรรม และกินใช้อย่างมีสติสัมปชัญญะ มิจิตใจเป็นอิสระ 10.ผู้ที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุข เผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์นั้นทำความดีไม่ลุ่มหลง ไม่หมกมุ่นมัวเมา กินใช้ทรัพย์สมบัติโดยรู้เท่าทัน เห็นคุณโทษทางดีทางเสียของมัน มีปัญญาทำตนให้เป็นอิสระ เป็นชาวบ้านชนิดที่เลิศ ประเสริฐ สูงสุด Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
    Show more Show less
    58 mins
  • กามโภคีสุข 4 : สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี [6729-3d]
    Jul 16 2024
    สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมีหรือความสุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ คือ กามโภคีสุข 4 ได้แก่1.อัตถิสุข : ความสุขเกิดจากความมีทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตน และโดยชอบธรรม2.โภคสุข : ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบนั้น เลี้ยงชีพ เลี้ยงผู้ควรเลี้ยง และบำเพ็ญประโยชน์3.อนณสุข : ความสุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนเป็นไท ไม่มีหนี้สินติดค้างใคร4.อนวัชชสุข : ความสุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครๆ ติเตียนไม่ได้ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจบรรดาความสุข 4 อย่างนี้ อนวัชชสุข มีค่ามากที่สุด การจะเกิดความสุขประการที่4 คืออนวัชชสุข นั้นมีธรรมอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ธรรมที่ว่าด้วยการค้าขายที่ไม่ควรค้าขาย 5 ประการตามนัยยะที่มาในวนิชชสูตร คือ 1.ค้าอาวุธ 2.ค้าสัตว์เป็น 3.ค้าเนื้อสัตว์ 4.ค้าสุรา 5.ค้ายาพิษ การค้าขาย 5 ประการนี้พระพุทธเจ้าบอกว่า เป็นอกรณียกิจ ไม่ควรทำนอกจากนี้ยังมีธรรมอีกหนึ่งหมวดที่นำมาปฏิบัติแล้วจะส่งเสริมให้เกิดสุขอันชอบธรรมแก่ผู้ครองเรือนได้ คือ กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 : หลักธรรมที่ทำให้ครอบครัวเจริญมั่งคั่งอยู่ได้นานได้แก่ 1.หาของที่หายไป 2.ซ่อมแซมของที่ชำรุดเสียหาย 3.ประมาณตนในการบริโภค 4.ดำรงชีพด้วยการมีศีลธรรม Time stamp [00:56] ปฏิบัติภาวนา อานาปานสติ และแผ่เมตตา[12:51] คฤหัสถ์ คือ ผู้ครองเรือน[13:29] กามโภคีสุข 4 : สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี[15:07] อัตถิสุข : สุขเกิดจากความมีทรัพย์[23:31] โภคสุข : สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์[29:05] อนณสุข : สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้[33:54] อนวัชชสุข : สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ[41:51] กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 : หลักธรรมที่ทำให้ครอบครัวเจริญมั่งคั่ง[49:19] เปรียบเทียบความสุขของ คฤหัสถ์ กับ นักบวช Hosted on Acast. See acast.com/privacy for more information.
    Show more Show less
    55 mins

What listeners say about 3 ใต้ร่มโพธิบท

Average customer ratings

Reviews - Please select the tabs below to change the source of reviews.